ชื่อผู้ใช้ : รหัสผ่าน : จำรหัสผ่าน สมัครสมาชิก ลืมรหัสผ่าน?

รู้หรือไม่ว่า นิสิตกับนักศึกษาต่างกันอย่างไร? ใครอยากรู้ตามมาเลย

หมวดกระทู้ :ประเด็นเด่น
         สวัสดีเพื่อนชาว นิสิตโซน ทุกคน พบกันอีกแล้ว วันนี้เรามีเรื่องน่ารู้มาฝากอีกตามเคย เพื่อนๆ คนสงสัยหรือไม่กับคำว่า "นิสิต" กับ "นักศึกษา" ต่างกันอย่างไร  ?  ใครสงสัยวันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยของสองคำนี้กัน ถ้าอยากรู็ตามเรามาเลย 

       คำว่า นิสิต และ นักศึกษา เริ่มมาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย ที่บัญญัติคำขึ้นเพื่อเรียกบุคคลที่เข้าเรียนใน 2 ลักษณะที่แตกต่างกัน ซึ่งในอดีตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดสอนทั้งเยาวชนที่เป็นเด็กนักเรียนทั่วไป และผู้ใหญ่ที่ทำงานแล้วเข้ามาเรียนเพื่อเพิ่มคุณวุฒิ จึงต้องมีการเรียกสถานภาพของผู้เรียนให้ต่างกัน

        นิสิต มีความหมายว่า "ผู้อยู่อาศัย" เนื่องจากในสมัยก่อน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น ตั้งอยู่นอกเมือง การคมนาคมเพื่อมาศึกษาเป็นการยากลำบาก ผู้ที่มาเรียนส่วนใหญ่จำเป็นต้องพักภายในหอพักของมหาวิทยาลัย และคำว่า ”นิสิต” ก็ถูกเรียกบุคคลที่อาศัยในห้องปฏิบัติการเช่นเดียวกัน

       ส่วนคำว่า
นักศึกษา  ในสมัยนั้นใช้สำหรับมหาวิทยาลัยที่อยู่ในเมือง ผู้เรียนไม่มีความจำเป็นต้องอยู่พักอาศัยหอ โดยมีมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์ ซึ่งในสมัยนั้นตั้งอยู่ที่ท่าพระจันทร์เพียงแห่งเดียว ได้ริเริ่มใช้คำนี้ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยแรก โดยมีมหาวิทยาลัยที่ใช้คำว่า 
นักศึกษา ในสมัยนั้น ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร(สมัยนั้นมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ที่วังท่าพระเพียงแห่งเดียว และ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ หรือมหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน ซึ่งในสมัยนั้นหาวิทยาลัยอยู่ที่ศิริราช

       ปัจจุบันนี้ยังคงมีมหาวิทยาลัยที่ใช้คำว่า
นิสิตอยู่ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้น

          เป็นยังไงกันบ้างครับเพื่อนๆ วันนี้ก็ได้ทราบความหมายของทั้งสองคำนี้ไปแล้ว ถ้าใครยังสงสัยหรือว่ามีข้อมูลเพิ่มเติ่มเกี่ยวกับสองคำนี้สามารถแสดงความคิดเห็นผ่านกล่องความคิดเห็นด้านล่างนี้เลย สำหรับวันนี้ก็ฝากสาระดีๆ ไว้เพียงเท่านี้สวัสดีครับ
โพสโดย : แอดมิน
วันที่โพส : 07 กันยายน 2556
Email : Ben-NisitZone@nisit-zone.com

แสดงความคิดเห็นของคุณ

1
ชื่อผู้ตอบ: *
อีเมล์ : *
กรุณาใส่รหัสตามรูปที่เห็น *

ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น